วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

ประวัติโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล

โรงเรียนประจำจังหวัด “ สกลราชวิทยานุกูล ”   ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน
เพียงแต่พอทราบ จากการบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระผู้พระราชทานการศึกษาแก่ทวยราษฎร์   พระองค์ได้ทรงขยายการศึกษาออกสู่หัวเมืองต่าง ๆ การเรียนการสอนในจังหวัดสกลนครได้มีขึ้นช่วงรัชสมัยของพระองค์ท่านด้วย   โดยมีโรงเรียนเดิมตั้งอยู่ที่วัดกลางมีชื่อเรียกว่า “ โรงเรียนวัดกลางรามวิทยา ” โดยมีพระครูดำเป็นผู้ดำเนินการสอน บางครั้งก็ย้ายไปสอนตามบ้านข้าราชการในสมัยนั้นบ้าง   นักเรียนในสมัยนั้น    เมื่อจบหลักสูตรก็ต้องออกไปรับราชการเป็นเสมียน   เท่าที่ทราบจากการบอกเล่าโดยย่อมีเพียงเท่านี้   ต่อมาโรงเรียนได้รับการพัฒนาด้านอาคารสถานที่ และปรับปรุงหลักสูตรพอสรุปได้ดังนี้
                 พ.ศ. 2454 ได้ย้ายมาจากวัดกลาง (บริเวณตลาดศรีคูณเมืองปัจจุบัน) มาตั้งที่โรงเรียนเชิงชุม-ราษฎร์นุกูล ในปัจจุบัน มีอาคารเรียนเป็นเรือนไม้ยกพื้นสูงมีหน้ามุขหนึ่งมุขสี่ห้องเรียน
                 พ.ศ. 2455 ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชน ในเมืองสกลนคร ร่วมกันบริจาคทรัพย์ สร้างอาคารใหม่ เพิ่มเป็นอาคารไม้หลังคามุงกระเบื้องได้สถาปนาชื่อ “โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล” ทำบุญฉลองและเปิดการเรียนการสอนเมื่อ วันที่ 23 มกราคม 2455 จึงถือเอา วันที่ 23 มกราคม ของทุกปีเป็นวันสถาปนาโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล
                พ.ศ. 2461 ได้รื้ออาคารเรียนหลังเดิม สร้างใหม่เป็นเรือนไม้ใต้ถุนเตี้ย มีแปดห้องเรียน
หันหน้าออกสู่ถนนด้านทิศใต้ สร้างเสร็จในปีพ.ศ. 2463
                 พ.ศ.2467 ได้ขยายเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
                 พ.ศ. 2475 ได้สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ เป็นเรือนไม้สูงเสาอิฐถือปูน มีเก้าห้องเรียน
                 พ.ศ. 2480 ขยายชั้นเรียนถึงชั้นมัธยมปีที่ 6
                 พ.ศ. 2503 ขยายชั้นเรียนถึงเตรียมวิทยาศาสตร์(ตว.1) ม.7 – ม.8 นายแก้ว อุปพงษ์
เป็นอาจารย์ใหญ่ขณะนั้น ได้เชิญชวนคหบดีเมืองสกลนคร นายเขียน-นางบัวแถว มาลัยกรอง บริจาคเงินสร้างอาคารเรียนให้โรงเรียนและตั้งชื่อตึกว่า “ตึกมาลัยกรอง”
                 พ.ศ. 2510 นายสำเริง นิลประดิษฐ์ อาจารย์ใหญ่โรงเรียน ขณะนั้นได้เสนอรวมโรงเรียน
สกลราชวิทยานุกูล โรงเรียนสตรีสกลรัตน์และโรงเรียนการช่างสตรีเข้าด้วยกัน
                พ.ศ. 2511 ได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2511 ให้รวมสาม โรงเรียนเข้าด้วยกันโดยใช้ชื่อโรงเรียนว่า “ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล ” ตามนโยบายของกรมสามัญ-ศึกษา เพื่อใช้หลักสูตร คมส. (โครงการโรงเรียนมัธยมศึกษาแบบผสม) โดยความร่วมมือช่วยเหลือของ “USOM” เนื่องจากบริเวณโรงเรียนเดิม มีโรงเรียนเชิงชุมราษฏร์นุกูล กั้นอยู่ ทำให้ไม่สะดวกต่อการบริหารงานด้านการเรียนการสอน ดังนั้นทางโรงเรียนและจังหวัดได้ทำเรื่องเสนอกระทรวงศึกษาธิการ ขอแลกเปลี่ยนบริเวณโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล กับโรงเรียนเชิงชุมราษฏร์นุกูลกระทรวงศึกษาธิการ ได้อนุมัติให้ดำเนินการตามความประสงค์ ดังนั้นโรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล จึงมีที่ตั้งและอาณาบริเวณดังเช่นปัจจุบัน
โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูล  มีความเจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับจากเดิมเป็นโรงเรียนที่มีครู 9 คน นักเรียน 289 คน ขนาด 10 ห้องเรียน ในช่วงปี พ.ศ. 2463 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2552 มีครู รวมทั้งสิ้น 194 คน ห้องเรียน 78 ห้อง นักเรียน 3,968 คน เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีผู้บริหารโรงเรียนมาแล้วรวมทั้งสิ้น 21 คน     

วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2554

เชียงราย-วัดเชียงแสนเสียหายจากแผ่นดินไหวในพม่า

โบราณสถานพันปีที่วัดพระธาตุเจดีย์หลวง บ้านเวียงใต้ เขตเทศบาล ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหวในพม่า  ขณะที่นักท่องเที่ยวใน อ.แม่สาย เช็คเอาท์จากโรงแรมหมดแล้ว
โดยยอดพระธาตุ ที่ตั้งอยู่บนความสูง 88 เมตร ปลายยอดเจดีย์หักลงมาความยาว 3 เมตร ตัวเจดีย์มีรอยร้าว และเมื่อเวลา 7.22 น. เช้านี้(25 มี.ค.) ในขณะที่ผู้สื่อข่าวกำลังสัมภาษณ์พระครูวิจารณ์ ธรรมสุนทร เจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง ได้เกิดอาฟเตอร์ช็อก รุนแรงระดับ 5.5 ริกเตอร์ ทำให้ยอดพระธาตมีเศษดินตกลงมา และเส้นลวดยอดพระธาตุสั่นไหวเป็นเวลานาน

ส่วนที่วัดพระธาตุจอมกิตติ 1 ในพระธาตุ 9 จอม ยอดฉัตรเจดีย์พระราชทานที่หุ้มด้วยทองคำ ได้รับความเสียหายเอียง 45 องศา แต่ไม่หักโค่น อย่างเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2550 ซึ่งครั้งนั้นประสบเหตุแผ่นดินไหวขนาด 6.3 ริกเตอร์ จนยอดฉัตรพังหักลงมา นอกจากนี้กระเบื้องหลังคาวัด ยอดกาแล ยังตกลงมาแตกเสียหาย

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ที่วัดพระธาตุดอยเวา อ.แม่สาย จ.เชียงราย วัดสูงห่างจากพรมแดนไทย-พม่า 500 เมตร หอระฆัง 8 เหลี่ยม 6 ชั้น แสดงพระราชประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ขนาดความสูงเหนือน้ำทะเล 1,200 เมตร สั่นสะเทือนจนเกิดรอยร้าว และรอยแตกของผิวซีเมนต์กระเทาะเป็นชั้นๆ คณะทัวร์ที่มาอาศัยนอนที่วัด แตกตื่น ขับรถออกจากพื้นที่ตั้งแต่กลางดึก ส่วนนักท่องเที่ยวต่างพากันเช็คเอาท์ออกจากทุกโรงแรม

วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2554

ความคิดถึง

รถบรรทุกคันนี้ ขับมานานมาก เวลาผ่านไป ความคิดถึงก็มากขึ้นตามลำดับ………
มากขึ้น….มากขึ้น และมากขึ้นจนเต็มคันรถเลยหลังคาหน้ารถออกมา
ถึงแม้หนทางจะยาวไกล ฝนจะตก ฟ้าจะร้องหนัก
ถึงจะหนัก แต่เจ้าของไม่เคยเลย ที่จะปล่อยให้ความคิดถึง ร่วงหล่นเลยสักความคิดถึง……

จนรถบรรทุกคันนี้ได้มาเจออุโมงค์ใหญ่ แต่เพดานต่ำ
แค่ผ่านอุโมงค์ เจ้าของรถก็จะได้ไปส่งเอาความคิดถึงอันมหาศาลให้กับเธอคนนั้น ………
แต่อุโมงค์มันต่ำ ต่ำกว่ากองแห่งความคิดถึง เพียง 1 นิ้ว
แค่หยิบเอาเศษเสี้ยว ความคิดถึงนั้น ออกไป …….ออกไปสัก 1 นิ้ว เจ้าของรถก็จะได้เจอเธอคนนั้นดังใจหมาย
แต่เขาไม่ยอม ไม่ยอมแม้แต่จะเอาความคิดถึงออกไปสักนิดเดียว
เพราะเขารู้ดีว่า มันมีค่ามากแค่ไหน……..
หนทางอีกแค่ ระยะ 300 เมตร แต่เขากลับไปไม่ได้
เขาจะทำยังไง จะขน 2 รอบหรือ แล้วมันหล่นไประหว่างทางหรือไม่ ???
เขาจะทำยังไงที่จะเอาความคิดถึงไปให้เธออันเป็นที่รัก โดยที่ไม่เอากองแห่งความคิดถึงออกไป
เขาคนนั้นได้ตัดสินใจที่จะปล่อยยางของรถลงล้อละ 1 นิ้ว ถึงแม้ว่าจะวิ่งช้าลง…….ทำให้ถึงช้าขึ้น
แต่ความมั่นคง……ที่มีจุดหมายปลายทาง ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานาน…เขาก็พร้อมที่จะเผชิญ ที่จะรอจนกว่า
เจอเธอ…….ดีกว่าที่จะทิ้งความคิดถึงที่มีต่อเธอคนนั้นออกไปแม้แต่เสี้ยวหนึ่งก็ตาม

ท่านมีความพึงพอใจกับบล็อคนี้มากเพียงใด