วันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2554

กลิ่นปาก หรือ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น


กลิ่นปากที่ไม่พึ่งประสงค์กันดีกว่า เพื่อป้องกันและจะได้สังเกตความผิดปกติของร่างกายได้ เริ่มกันเลยนะค่ะ
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น หรือภาษาอังกฤษที่ว่า bad breath, halitosis, fetor oris or fetor ex ore หมายถึง กลิ่นเหม็นที่ออกมาจากลมหายใจซึ่งสามารถได้กลิ่น ไม่รวมถึงก๊าซในความเข้มข้นมากกว่าปกติที่ไม่สามารถได้กลิ่น
ปัญหาเรื่องลมหายใจมีกลิ่นเหม็นนั้น ดำรงอยู่คู่กับมนุษย์มานานเป็นพันปี ซึ่งพบได้จากหนังสือต่าง ๆ แม้แต่พระคริสตธรรมคัมภีร์ก็ได้กล่าวถึง ladanum (mastic) ซึ่งได้มาจากต้น Pistacia lentiscus โดยคนที่อาศัยอยู่ในแถบประเทศเมดิเตอเรเนียน ได้ใช้ในการทำให้ลมหายใจสดชื่นมานานนับพันปี
ระบาดวิทยา
ไม่มีใครทราบถึงระบาดวิทยาที่แน่นอน ซึ่งถ้าต้องการศึกษาจริง ๆ จำเป็นต้องศึกษาในคนที่เพิ่งตื่นนอน เนื่องจากลมหายใจจะมีกลิ่นเหม็นมากที่สุดขณะที่ตื่นนอน คนส่วนใหญ่จะต้องประสบกับปัญหาลมหายใจมีกลิ่นเหม็นอย่างน้อยครั้งหนึ่งใน ชีวิต
เนื่องจากการที่จะประเมินกลิ่นลมหายใจของตนเองนั้น ทำได้ยาก ดังนั้นจึงทำให้คนจำนวนมากไม่ทราบว่าตนมีกลิ่นลมหายใจผิดปกติ และก็มีคนอีกจำนวนมากที่มีกลิ่นลมหายใจปกติ หรือเหม็นเพียงเล็กน้อย แต่ว่าวิตกกังวลอย่างมาก คิดว่าตนมีกลิ่นลมหายใจเหม็น ซึ่งเรียกคนกลุ่มนี้ว่า Halitophobics
ลมหายใจมีกลิ่นเหม็นสามารถพบได้ในเด็กอายุน้อยตั้งแต่ 2-3 ปี ผู้หญิงมักจะประเมินว่าตนเองมีกลิ่นปากเหม็นมากกว่าผู้ชาย ทั้ง ๆ ที่ความเป็นจริงแล้วผู้ชายมีลมหายใจกลิ่นเหม็นกว่าผู้หญิง
สาเหตุและพยาธิกำเนิดของลมหายใจมีกลิ่นเหม็น1. จากช่องปาก (Oral Cavity) – กลิ่นปาก
2. โพรงจมูก (Nasal passages)
3. ต่อมทอนซิล (Tonsils)
4. อื่น ๆ (Others)
อาทิเช่น จากการติดเชื้อที่หลอดลม และปอด ไตวาย ตับวาย โรคมะเร็งต่าง ๆ โรคทางเมตาบอลิก ซึ่งโรคเหล่านี้พบได้น้อยมากในผู้ป่วยที่เดินเข้ามารักษาที่โรงพยาบาล
ตัวอย่างที่สำคัญได้แก่ โรคเบาหวาน ซึ่งมีกลิ่นลมหายใจเหม็นจากสารคีโตน พบเฉพาะในคนที่คุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี และจะไม่มีใครคนที่ระดับน้ำตาลคุมได้ดี
ภาวะลมหายใจมีกลิ่นเหม็นนี้แทบจะไม่พบว่ามาจากหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร หรือ ลำไส้เลย เนื่องจากหลอดอาหารในภาวะปกติจะแฟบ อาจจะมีกลิ่นได้ในขณะที่เรอแต่ว่าจะไม่มีกลิ่นเป็นเวลานาน ๆ ดังนั้นการส่องกล้องดูกระเพาอาหาร (gastroscope) จึงไม่ควรทำในคนไข้ที่มีปัญหาเพียงแค่กลิ่นลมหายใจเหม็น
ในผู้ป่วยบางคนพยายามที่จะดับกลิ่นปากของตนเอง โดยการสูบบุหรี่ซึ่งกลับทำให้มีกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์จากบุหรี่เองโดยกลิ่น จากการสูบบุหรี่นี้จะยังคงออกมาจากลมหายใจแม้ว่าจะหยุดไปแล้วมากกว่าหนึ่ง วันรวมถึงคนที่ไม่ได้สูบบุหรี่ แต่ว่าอยู่ใกล้กับผู้ที่สูบบุหรี่ด้วย
ผู้ ป่วยที่มีปัญหาปากแห้ง (xerostomia) จะมีปัญหากลิ่นปากขณะที่ปากแห้ง ซึ่งคาดว่าจะเกิดจากภาวะเป็นกรด หรืออาจจะส่งผลต่อเชื้อโรคที่อาศัยในช่องปาก
การรักษาหรือวิธีลดกลิ่นปาก
ในผู้ป่วยที่ทราบสาเหตุ ควรจะรักษาตามสาเหตุ ส่วนผู้ที่ไม่พบสาเหตุ หรือไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอน ก็สามารถบรรเทาได้โดยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
1. อย่าปล่อยให้ปากแห้งเพราะเมื่อปากแห้งความเข้มข้น
ของแบคทีเรียในปากจะเพิ่มมากทำให้เกิดกลิ่นปากได้ง่าย
2. ดื่มน้ำมากๆ ช่วยล้างแบคทีเรียออกจากน้ำลาย
3. แปรงฟันทุกครั้งหลังมื้ออาหาร และอย่าลืมแปรงด้านบนของลิ้น

อันเป็นที่เกิดของแบคทีเรียด้วย
4.ใช้ไหมขัดฟันวันละ 2-3 ครั้ง
5. ถ้าไม่สะดวกจะแปรงฟัน ให้บ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำยาบ้วนปาก
6. เคี้ยวหมากฝรั่งชนิดที่ไม่มีน้ำตาล
7. เคี้ยวใบผักชีฝรั่งหรือกานพลูหลังมื้ออาหาร
8. งดอาหารกลิ่นแรง เช่น กระเทียม, หอมใหญ่, พริกไทย และชีส
9. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นปาก
10. กินอาหารให้ครบหมู่ แม้ว่าคุณจะกำลังลดความอ้วนอยู่ก็ตาม
11.เลิกสูบบุหรี่
12.ตรวจสุขภาพฟันสม่ำเสมอ
เวลาที่จะทำการบ้วนปากด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่ดีที่สุด คือ ช่วงเวลาก่อนนอน เนื่องจากจะทำให้น้ำยาทำความสะอาดตกค้างในปากได้นาน และออกฤทธิ์ได้นาน รวมถึง ขณะที่นอนหลับนั้น กลิ่นปากหรือกลิ่นลมหายใจจะเหม็นที่สุด เนื่องจากไม่มีการหลั่งน้ำลาย และจุลชีพทำงานได้ดีที่สุด

ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : followhissteps.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

ท่านมีความพึงพอใจกับบล็อคนี้มากเพียงใด